วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลี้ยงปลาดุกน้ำจืด

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อ


ลักษณะเพศและการวางไข่ 
       การแยกเพศ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญการเพาะพันธุ์ ลักษณะที่เห็นได้ง่ายและเด่นชัด คือบริเวณใกล้ช่องทวารของปลาดุกตัวผู้ จะมีอวัยวะแสดงเพศซึ่งมีลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา ถ้าเป็นตัวเมีย อวัยวะแสดงเพศจะมีลักษณะค่อนข้างกลม และเห็นได้ชัดว่าสั้นกว่า ขนาดของปลาดุกที่จะแยกเพศได้ถนัดนั้น ต้องเป็นปลาที่มีขนาดยาวเกินกว่า 15 เซนติเมตร 
       ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายอีกประการหนึ่งคือ ในฤดูวางไข่ บริเวณส่วนท้องของปลาตัวเมียจะอูมเป่งกว่าปกติ ถ้าใช้มือบีบเบาๆ ตรงบริเวณท้องจะมีไข่ออกมา 15 เซนติเมตร 
       ฤดูที่ปลาดุกจะเริ่มวางไข่ อยู่ในระหว่างเดือนพฤษาภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ช่วงเวลาที่ปลาดุกวางไข่มักจะอยู่ในระหว่างเดือนซึ่งมีฝนตกชุก ฉะนั้นการเพาะพันธุ์ปลาดุก จึงควรกระทำในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว

การให้อาหาร
  อาหารลูกปลา ลูกปลาซึ่งมีถุงไข่แดงยุบหมดแล้ว ควรจะให้อาหารจำพวกไรน้ำต่อไปประมาณ 5-7 วัน ในเวลาเข้าและเย็น ต่อจากนั้นก็ให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ได้แก่ 
       1. อาหารจำพวกแมลง เช่น ปลวก ลูกน้ำ ไรน้ำ ฯลฯ 
       2. เนื้อสัตว์ เช่น เศษเนื้อวัว ควาย ปลา ไส้เป็ด ไส้ไก่ เลือด และเครื่องใน 
       3. เนื้อกุ้ง หอย และปูต่างๆ 
       4. เนื้อสัตว์จำพวกกบ เขียด และอื่นๆ 
       อาหารจำพวกเนื้อสัตว์เหล่านี้จะต้องนำมาสับจนละเอียด แต่สำหรับเนื้อปลานั้น ควรใช้ต้มทั้งตัวให้สุก เสียก่อน แล้วจึงให้ลูกปลากินระวังอย่าให้อาหารมากจนเกินขนาดจะทำให้ปลาตายได้ เนื่องจากอาหารย่อยไม่ทัน ทั้งอาหารที่เหลือก็จะทำหใ้น้ำเสียได้ง่าย นอกจากอาหารจำพวกเนื้อแล้ว อาหารจำพวกพืช เช่น กากถั่ว รำต้ม กากมัน ก็นิยมให้เป็นอาหารสมทบ 
       การให้อาหารลูกปลา ควรให้วันละประมาณ 5 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักรวมของปลาที่เลี้ยงทั้งหมด แต่ควรสังเกตดูว่าอาหารที่ให้จะเหลือมากน้อยเพียงใด ถ้าเหลือมากควรลดปริมาณอาหารลงบ้าง การให้อาหารแต่ละครั้ง ควรให้ในปริมาณที่ปลาจะกินได้หมดในช่วงเวลาที่ไม่มากนัก 
       
อาหารปลาใหญ่ ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อและผักซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้ 
       1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามแต่จะหาได้ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ตัวไหม และไส้เดือน ฯลฯ 
       2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว แป้งมัน และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเเพิ่มอาหารหรืออาจจะให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลแพะ ฯลฯ 
       โดยทั่วๆ ไปแล้ว ปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่า อาหารประเภทพืชและประเภทแป้ง แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 เปอร์เซนต์ ของอาหารประเภทพืช และแป้ง

การเตรียมบ่อ    


บ่อใหม่
ปกติแล้วดินจะมีสภาพเป็นกรดอย่างอ่อนๆ หรืออาจจะมีสภาพเป็นกรดสูง ขึ้นอยู่กับลักษณะท้องที่ ฉะนั้นควรใช้ปูนขาวประมาณ 1 กก. ต่อพื้นที่ 10-25 ตารางเมตร โดยสาดปูนขาวให้ทั่วบ่อแล้วตากบ่อไว้ ประมาณ 7-10 วันก่อน จึงสูบน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการ แต่ควรมีระดับน้ำลึกประมาณ 50 ซม. แล้วจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง



บ่อเก่า


เมื่อเลี้ยงปลาดุกผ่านไปรุ่นหนึ่งแล้ว ควรตากบ่อให้แห้งประมาณ 10-15 วัน พร้อมทั้งโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตราส่วนปูนขาวอยู่เดิม และเป็นการให้จุลินทรีย์เน่าสลายทำให้อินทรียสารที่ตกค้างอยู่ในบ่อหมดไปด้วย เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3-4 รุ่น ควรลอกเลนและทำคันบ่อใหม่ เนื่องจากบ่ออาจตื้นเขินและขอบคันอาจเป็นรู เป็นโพรงมาก ทำให้บ่ออาจเก็บกักน้ำไม่อยู่และไม่สะดวกในการจับปลาอีกด้วย

การการเลี้ยงปลาดุกในบ่อ
เอกสาร กรมประมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น