ปลานิล
การเจริญเติบโต
ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักถึง 500 กรัม และเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อปล่อยลงเลี้ยงวในบ่อ จะเริ่มวางไข่ ได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ได้ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 เดือนด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลาในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไป หากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้าง เพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหน้าแน่น ปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย
การเตรียมบ่อ
บ่อที่จะใช้เลี้ยงปลานิล ควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป ระดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ 1 เมตรตลอดปี ทั้งนี้เพื่อจะไ้ดใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต และใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วย เพราะถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กแล้ว ลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนแน่นบ่ออย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โต โดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อ ดังนั้น จึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆ สำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่
ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออก เพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้ และยังเป็นเการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามาอีกด้วย แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นที่จะต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลง และต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย
ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออก เพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้ และยังเป็นเการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามาอีกด้วย แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นที่จะต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลง และต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย
การให้อาหาร
ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในบ่อ ตลอดจนสาหร่ายและแหน ถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบ เช่น รำ ปลายข้าว กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากมะพร้าว แหนเป็ดและปลาป่น เป็นต้น การให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไปควรกะให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของปลาเท่านั้น ส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราว 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้อาหารมากเกินไป ปลาจะกินไม่หมด เสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นอันตรายแก่ปลาได้
ปลาตะเพียนขาว
รูปร่างลักษณะและนิสัย
ปลาตะเพียนขาว มีลักษณะลำตัวแบนข้าง ขอบหลังโค้งยกสูงขึ้น หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 29-31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงิน บริเวณส่วนหลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องเป็นสีขาวนวล ปลาตะเพียนขาวซึ่งมีขนาดโตเต็มที่แล้วจะมีลำตัวยาวที่สุดเกือบ 50 ซม.ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาน้ำจืด อาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตแพร่ขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว
วิธีการเพาะขยายพันธุ์
หลังจากคัดเลือกพ่อ - แม่ปลาได้แล้ว นำพ่อ-แม่ปลาไปปล่อยไว้ในกรงลวด ในอัตราตัวเมัย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 2 ตัว หรือ ตัวเมีย 3 ตัว ต่อตัวผู้ 5 ตัว กรงลวดแต่ละกรงนั้นควรปล่อยแม่ปลาประมาณ 5-10 ตัว การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาว ต้องทำในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนมิถุนายนเพราะเป็นช่วงฤดูวางไข่ผสมพันธุ์ของปลาตะเพียนขาว
เมื่อพ่อแม่ปลาเริ่มรัดหรือผสมพันธุ์กันแล้ว ประมาณ 2 ชั่วโมง แม่ปลาก็จะออกไข่หมด เมื่อยกกรงลวดออกจากระชังผ้าไนลอนแก้ว ( พ่อ-แม่ปลาติดออกมาด้วย ) จะพบว่ามีไข่ปลาจมอยู่ที่ก้นกระชังผ้าเป็นจำนวนมาก ควรแยกไข่ปลาไปฟักในกระชังผ้าใบอื่น เพื่อไม่ให้ไข่ทับถมกันจนแน่นเกินไป ไข่ปลาจะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 8-12 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณภูมิของน้ำและอากาศ ถ้าอุณหภูมิสูง จะทำให้ไข่ฟักออกเป็นตัวเร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ
ถ้าหากไม่สามารถหากรงลวดและกระชังไนลอนได้ เราก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาตะเพียนขาวในบ่อผสมพันธุ์ได้เลย ( บ่อดินขนาด 100 ตารางเมตร บ่อซีเมนต์ 10 ตารางเมตร ) ถ้าเป็นบ่อซีเมตรขนาด 10 ตารางเมตร ใช้พ่อ-แม่ปลาในอัตราส่วน ตัวเมีย 3 ตัว ต่อตัวผู้ 5 ตัว เตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์โดยการเปลี่ยนน้ำใหม่ประมาณครึ่งบ่อ การปล่อยน้ำให้ไหลลงบ่อตลอดเวลา พ่อ- แม่ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาประมาณ 04.00 - 05.00 น. ของวันรุ่นขึ้น ในขณะที่ปลาตะเพียนกำลังผสมพันธุ์และวางไข่นั้น ปลาจะส่งเสียงร้องอุดๆ ตลอดเวลาและจะไล่เคล้าเคลียกันเป็นฝูง
ในวันรุ่งขึ้น ต้องจับพ่อ-แม่ปลาขึ้นจากบ่อ ทิ้งให้ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วฟักเป็นตัวภายในบ่อ และเมื่อลูกปลามีอายุได้ประมาณ 15 วัน ต้องนำลูกปลาไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลต่อไป
การอนุบาลลูกปลาตะเพียนในกระชังผ้าไนลอนแก้ว ในระยะแรกประมาณ 3-5 วันนั้น นับว่าเป็นวิธีที่ดี เพราะสามารถดูแลได้ใกล้ชิดกว่าปล่อยไว้ในบ่อดิน เพราะถ้าผู้เลี้ยงไม่สามารถดูแลปลาได้ใกล้ชิดแล้ว จะไม่รู้ว่าลูกปลาที่กำลังอนุบาลอยู่นั้นเหลือมากน้อยเพียงใด อีกประการหนึ่ง การอนุบาลลูกปลาในกระชังผ้าดังกล่าว สามารถมองเห็นลูกปลาได้ถนัดตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงบริเวณก้นกระชัง ทำให้เห็นลูกปลาตายมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะหาวิธีแก้ไขได้สะดวก ทั้งยังสามารถคะเนปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละครั้งได้ด้วย ว่ามีประมาณมากน้อยเพียงพอหรือไม่เพียงใด
เมื่อพ่อแม่ปลาเริ่มรัดหรือผสมพันธุ์กันแล้ว ประมาณ 2 ชั่วโมง แม่ปลาก็จะออกไข่หมด เมื่อยกกรงลวดออกจากระชังผ้าไนลอนแก้ว ( พ่อ-แม่ปลาติดออกมาด้วย ) จะพบว่ามีไข่ปลาจมอยู่ที่ก้นกระชังผ้าเป็นจำนวนมาก ควรแยกไข่ปลาไปฟักในกระชังผ้าใบอื่น เพื่อไม่ให้ไข่ทับถมกันจนแน่นเกินไป ไข่ปลาจะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 8-12 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณภูมิของน้ำและอากาศ ถ้าอุณหภูมิสูง จะทำให้ไข่ฟักออกเป็นตัวเร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ
ถ้าหากไม่สามารถหากรงลวดและกระชังไนลอนได้ เราก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาตะเพียนขาวในบ่อผสมพันธุ์ได้เลย ( บ่อดินขนาด 100 ตารางเมตร บ่อซีเมนต์ 10 ตารางเมตร ) ถ้าเป็นบ่อซีเมตรขนาด 10 ตารางเมตร ใช้พ่อ-แม่ปลาในอัตราส่วน ตัวเมีย 3 ตัว ต่อตัวผู้ 5 ตัว เตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์โดยการเปลี่ยนน้ำใหม่ประมาณครึ่งบ่อ การปล่อยน้ำให้ไหลลงบ่อตลอดเวลา พ่อ- แม่ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาประมาณ 04.00 - 05.00 น. ของวันรุ่นขึ้น ในขณะที่ปลาตะเพียนกำลังผสมพันธุ์และวางไข่นั้น ปลาจะส่งเสียงร้องอุดๆ ตลอดเวลาและจะไล่เคล้าเคลียกันเป็นฝูง
ในวันรุ่งขึ้น ต้องจับพ่อ-แม่ปลาขึ้นจากบ่อ ทิ้งให้ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วฟักเป็นตัวภายในบ่อ และเมื่อลูกปลามีอายุได้ประมาณ 15 วัน ต้องนำลูกปลาไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลต่อไป
การอนุบาลลูกปลาตะเพียนในกระชังผ้าไนลอนแก้ว ในระยะแรกประมาณ 3-5 วันนั้น นับว่าเป็นวิธีที่ดี เพราะสามารถดูแลได้ใกล้ชิดกว่าปล่อยไว้ในบ่อดิน เพราะถ้าผู้เลี้ยงไม่สามารถดูแลปลาได้ใกล้ชิดแล้ว จะไม่รู้ว่าลูกปลาที่กำลังอนุบาลอยู่นั้นเหลือมากน้อยเพียงใด อีกประการหนึ่ง การอนุบาลลูกปลาในกระชังผ้าดังกล่าว สามารถมองเห็นลูกปลาได้ถนัดตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงบริเวณก้นกระชัง ทำให้เห็นลูกปลาตายมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะหาวิธีแก้ไขได้สะดวก ทั้งยังสามารถคะเนปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละครั้งได้ด้วย ว่ามีประมาณมากน้อยเพียงพอหรือไม่เพียงใด
การเตรียมบ่อ
บ่อใหม่
หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ
ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร
บ่อเก่า
จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว
และหญ้าต่างๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ
และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย
ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดีขึ้น
การปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน
ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด
ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ
100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1
หรือ
2 ปี๊บ ขยำโล่ตื๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ
ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้
ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว
ที่มา หนังสือ การเลี้ยงปลานิลเริ่มต้น (กรมประมง)
หนังสือ คามรู้เกี่ยวกับปลาตะเพียนขาว (กรมประมง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น