วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การเลี้ยงปลาสวาย

ลักษณะเพศและการแพร่ขยายพันธุ์ 
       ลักษณะเพศ ปลาสวายตัวผู้มีท้องเรียบไม่นูน พื้นท้องแข็งกว่าตัวเมีย ลักษณะช่องเพศเป็นรูปวงรี แคบเล็ก มีสีแดงอ่อน เมื่อใช้มือบีบที่ช่องเพศเบาๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมาให้เห็นได้ชัด ส่วนตัวเมียมีลักษณะที่พอจะสังเกตได้ชัด คือ บริเวณส่วนท้องอูมเป่ง กลมนูนออกมาเห็นได้ถนัด พื้นท้องมีผิวเนียนนิ่ม ลักษณะของช่องเพศ เป็นรูปรีมีขนาดกว้างใหญ่กว่าของตัวผู้ นอกจากนั้นตรงบริเวณช่องเพศยังมีลักษณะพองเป่งปรากฏเป็นสีแดงเข้ม
       ฤดูและแหล่งวางไข่ ปลาสวายจะวางไข่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในบริเวณที่มีน้ำท่วมในฤดูน้ำมาก ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ไข่ปลาสวายจะฟักออกเป็นตัวในระยะเวลา 27-33 ชั่วโมงหลังจากวางไข่ ที่อุณหภูมิ 28-31 องศาเซลเซียส
       จากการสอบถามผู้ที่ได้เคยทำการทดลองเลี้ยงปลาสวายในกระชัง และโดยการทดลองเลี้ยงในบ่อ ปรากฏว่าทั้งปลาสวายและปลาเทโพจะไม่วางไข่แพร่พันธุ์ในบ่อหรือในกระชังที่เลี้ยงไว้เลย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปลาสวายจะไม่วางไข่ในบ่อและในกระชัง แต่ก็มีผู้นิยมเลี้ยงปลาสวายในบ่อและในกระชังกันมาก ทั้งนี้เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินง่าย โตเร็ว มีน้ำหนักมาก เนื้อมีรสอร่อย และในท้องตลาดจะมีผู้รับซื้อในราคาที่ดีพอสมควร


การเลี้ยงปลาสวายในบ่อ
การเลี้ยงปลาสวายควรจะพิจารณาและปฏิบัติดังต่อไปนี้
        1. บ่อ เนื่องจากปลาสวายเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ศัตรูที่เป็นพวกปลาด้วยกันจึงมีน้อย เพราะส่วนมากปลาอื่นๆ ที่มีอายุไล่เลี่ยกันจะมีขนาดของลำตัวเล็กกว่า ไม่อาจทำอันตรายปลาสวายได้
       บ่อเลี้ยงปลาสวาย ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ มีรัะดับน้ำลึกประมาณ 2 เมตร ทำเลของบ่อเลี้ยงควรให้อยู่ใกล้หรือติดกับแม่น้ำลำคลอง หรืออยู่ในที่ตื้นแต่ควรจะทำขอบบ่อให้เทลาดเล็กน้อย และมีชานคอยรับคันดินขอบบ่อไว้มิให้ดินพังทลายลง ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้บ่อตื้นเขิน อย่างไรก็ตาม คันดินขอบบ่อนั้นจะไม่มีเลยก็ได้
       2. น้ำ น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาสวาย จะต้องเป็นน้ำที่จืดสนิท ถ้าเป็นน้ำกร่อยหรือมีรสเฝื่อน ปลาจะไม่เติบโตเท่าทีควร
       3. พันธุ์ปลา การเลือกพันธุ์ปลาที่จะนำมาเลี้ยง ควรคัดปลาที่ไม่มีแผล ตาไม่บอด ไม่เป็นปลาที่แคระพิการ ปลาที่มีแผลนั้น หากปล่อยลงเลี้ยงอาจจะทำให้เกิดเชื้อโรคระบาดติดต่อตัวอื่นๆได้ ส่วนปลาที่ตาบอด ก็จะมองไม่เห็นอาหารที่ผู้เลี้ยงให้ ปลาจะได้กินบ้าง ไม่ได้กินบ้าง ทำให้ไม่เจริญเติบโต และอาจเจ็บตาย 
      4. อัตราการปล่อยปลา การเลี้ยงปลาสวายในบ่อ ควรปล่อยปลาสวายอัตรา 1 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร  
       5. อาหาร ปลาสวายเป็นปลาที่ไม่เลือกอาหาร กินอาหารง่าย กินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผัก จากการสังเกตของผู้เลี้ยงหลายราย ปรากฏว่าปลาสวายชอบกินอาหารพวกเนื้อสัตว์มากกว่าพืชผัก อาหารที่ว่านี้ ได้แก่ พวกปลาเล็กๆ เช่น ปลาสร้อย หรือปลาไส้ตัน ทั้งสดและที่ตายแล้ว โดยวิธีสับหรือบดให้ละเอียดเสียก่อน นอกจากนี้ปลาสวายยังชอบกินพวกรำผสมปนกับผักบุ้งอีกด้วย
การให้อาหาร
การเลี้ยงปลาสวายควรจะพิจารณาและปฏิบัติดังต่อไปนี้
        1. บ่อ เนื่องจากปลาสวายเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ศัตรูที่เป็นพวกปลาด้วยกันจึงมีน้อย เพราะส่วนมากปลาอื่นๆ ที่มีอายุไล่เลี่ยกันจะมีขนาดของลำตัวเล็กกว่า ไม่อาจทำอันตรายปลาสวายได้
       บ่อเลี้ยงปลาสวาย ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ มีรัะดับน้ำลึกประมาณ 2 เมตร ทำเลของบ่อเลี้ยงควรให้อยู่ใกล้หรือติดกับแม่น้ำลำคลอง หรืออยู่ในที่ตื้นแต่ควรจะทำขอบบ่อให้เทลาดเล็กน้อย และมีชานคอยรับคันดินขอบบ่อไว้มิให้ดินพังทลายลง ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้บ่อตื้นเขิน อย่างไรก็ตาม คันดินขอบบ่อนั้นจะไม่มีเลยก็ได้
       2. น้ำ น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาสวาย จะต้องเป็นน้ำที่จืดสนิท ถ้าเป็นน้ำกร่อยหรือมีรสเฝื่อน ปลาจะไม่เติบโตเท่าทีควร
       3. พันธุ์ปลา การเลือกพันธุ์ปลาที่จะนำมาเลี้ยง ควรคัดปลาที่ไม่มีแผล ตาไม่บอด ไม่เป็นปลาที่แคระพิการ ปลาที่มีแผลนั้น หากปล่อยลงเลี้ยงอาจจะทำให้เกิดเชื้อโรคระบาดติดต่อตัวอื่นๆได้ ส่วนปลาที่ตาบอด ก็จะมองไม่เห็นอาหารที่ผู้เลี้ยงให้ ปลาจะได้กินบ้าง ไม่ได้กินบ้าง ทำให้ไม่เจริญเติบโต และอาจเจ็บตาย 
      4. อัตราการปล่อยปลา การเลี้ยงปลาสวายในบ่อ ควรปล่อยปลาสวายอัตรา 1 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร  
       5. อาหาร ปลาสวายเป็นปลาที่ไม่เลือกอาหาร กินอาหารง่าย กินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผัก จากการสังเกตของผู้เลี้ยงหลายราย ปรากฏว่าปลาสวายชอบกินอาหารพวกเนื้อสัตว์มากกว่าพืชผัก อาหารที่ว่านี้ ได้แก่ พวกปลาเล็กๆ เช่น ปลาสร้อย หรือปลาไส้ตัน ทั้งสดและที่ตายแล้ว โดยวิธีสับหรือบดให้ละเอียดเสียก่อน นอกจากนี้ปลาสวายยังชอบกินพวกรำผสมปนกับผักบุ้งอีกด้วย

การเลี้ยงปลาไน


ลักษณะเพศและการแพร่ขยายพันธุ์

       ลักษณะเพศ รูปร่างลักษณะภายนอกของปลาไนตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การสังเกตลักษณะของเพศได้ ต้องอาศัยความชำนาญ คือตัวเมียมีลำตัวป้อม ช่วงท้งอตอนล่างอวบใหญ่แบน ส่วนตัวผู้มีลำตัวเรียวยาว โดยเฉพาะในฤดูวางไข่ ตัวเมียท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง พื้นท้องนิ่ม ส่วนตัวผู้ พื้นท้องไม่อูมเป่งแต่พื้นท้องจะมีความตึงค่อนไปทางแข็ง        ฤดูวางไข่ ย่อมแตกต่างกันบ้างตามแต่อากาศและฤดูกาลของแต่ละประเทศ เช่น ปลาไนที่เลี้ยงอยุ่ในบ่อเมื่องกวางตุ้ง ประเทศจีน จะวางไข่ในเดือนธันวาคม สำหรับในประเทศไทย ปลาไนสามารถที่วางไข่ได้ในทุกฤดู แต่ก็มีระยะหนึ่งซึ่งปลาไนสามารถไข่ได้มากที่สุด ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ปลาไนจะเติบโตพอที่จะสืบพันธุ์ได้ เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน ความยาวประมาณ 25 ซม. ในฤดูหนึ่ง แม่ปลาตัวหนึ่งอาจวางไข่ได้ถึง 2 ครั้ง


บ่อเลี้ยงปลาไน
บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาไน ควรแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
       1. บ่อผสมพันธุ์สำหรับพ่อ-แม่ปลา เพื่อใช้ผสมพันธุ์และวางไข่เมื่อพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์และวางไข่แล้ว จึงย้ายไข่ปลาไปยังบ่ออนุบาลเพื่อทำการฟักและเลี้ยงลูกปลาต่อไป บ่อผสมพันธุ์นี้ต้องเป็นบ่อซึ่งตั้งอยู่ในทำเลเงียบสงัด ห่างไกลจากทางเดินหรือถนนที่มีผู้คนพลุกพล่าน เพราะในขณะที่ปลากำลังผสมพันธุ์กันอยู่นั้น ถ้ามีเสียงหรือสิ่งเคลื่อนไหวทำให้ตกใจกลัวพ่อ-แม่ปลาจะหยุดชะงักหรือไม่วางไข่อีกต่อไป
       2. บ่ออนุบาล เป็นบ่อที่ใช้ฟักไข่ปลาที่แม่ปลาวางไข่ในบ่อผสมพันธุ์ขนาดของบ่อควรมีเนื้อที่ประมาณ 400-800 ตารางเมตรความลึกของน้ำ ไม่เกิน 1 เมตร ก่อนย้ายไข่จากบ่อผสมพันธุ์มาฟักในบ่ออนุบาล ต้องจับศัตรูของลูกปลาออกให้หมด เช่น กบ เขียด ปลากุก
       3. บ่อเลี้ยง ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีอายุตั้งแต่ 2-3 เดือนขึ้นไป โดยแยกมาจากบ่ออนุบาล บ่อเลี้ยงนี้จะใช้เลี้ยงปลาไนจนเติบโตได้ขนาดที่จะขายได้ ดังนั้นบ่อเลี้ยงจึงควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ และมีน้ำลึกประมาณ 1-2 เมตรตลอดปี


การให้อาหาร
การให้อาหารแก่ปลาไน ควรให้วันละครั้งเดียวในช่วงเช้า โดยจะโยนอาหารให้กิน หรือหาไม้มาทำแป้นใส่อาหารให้ปลา ให้แป้นไม้อยู่ใต้ผิวน้ำประมาณ 30 เซนติเมตร อาหารที่ให้แต่ละครั้งอย่าให้ปริมาณมากจนเกินไป เพราะเศษอาหารที่เหลืออยู่ในบ่อ จะบูดเน่าเป็นอันตรายต่อปลา จะทำให้ปลาอึดอัดหายใจไม่ออก ไม่กินอาหาร จะโผล่หัวขึ้นมาเหนือผิวน้ำ อาการเช่นนี้ เรียกว่า ปลาลอยหัว ถ้าทิ้งไว้นานปลาจะตาย เมื่อใดเห็นปลามีอาการเช่นนี้ ให้รีบเปลี่ยนน้ำในทันทีเพื่อตักเอาเศษอาหารที่เหลือนั้นจากบ่อ หรือรีบย้ายปลาไปไว้ในบ่ออื่นก่อนที่จะถ่ายน้ำแล้วสูบน้ำใหม่เติมลงไป

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลี้ยงปลาดุกน้ำจืด

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อ


ลักษณะเพศและการวางไข่ 
       การแยกเพศ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญการเพาะพันธุ์ ลักษณะที่เห็นได้ง่ายและเด่นชัด คือบริเวณใกล้ช่องทวารของปลาดุกตัวผู้ จะมีอวัยวะแสดงเพศซึ่งมีลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา ถ้าเป็นตัวเมีย อวัยวะแสดงเพศจะมีลักษณะค่อนข้างกลม และเห็นได้ชัดว่าสั้นกว่า ขนาดของปลาดุกที่จะแยกเพศได้ถนัดนั้น ต้องเป็นปลาที่มีขนาดยาวเกินกว่า 15 เซนติเมตร 
       ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายอีกประการหนึ่งคือ ในฤดูวางไข่ บริเวณส่วนท้องของปลาตัวเมียจะอูมเป่งกว่าปกติ ถ้าใช้มือบีบเบาๆ ตรงบริเวณท้องจะมีไข่ออกมา 15 เซนติเมตร 
       ฤดูที่ปลาดุกจะเริ่มวางไข่ อยู่ในระหว่างเดือนพฤษาภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ช่วงเวลาที่ปลาดุกวางไข่มักจะอยู่ในระหว่างเดือนซึ่งมีฝนตกชุก ฉะนั้นการเพาะพันธุ์ปลาดุก จึงควรกระทำในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว

การให้อาหาร
  อาหารลูกปลา ลูกปลาซึ่งมีถุงไข่แดงยุบหมดแล้ว ควรจะให้อาหารจำพวกไรน้ำต่อไปประมาณ 5-7 วัน ในเวลาเข้าและเย็น ต่อจากนั้นก็ให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ได้แก่ 
       1. อาหารจำพวกแมลง เช่น ปลวก ลูกน้ำ ไรน้ำ ฯลฯ 
       2. เนื้อสัตว์ เช่น เศษเนื้อวัว ควาย ปลา ไส้เป็ด ไส้ไก่ เลือด และเครื่องใน 
       3. เนื้อกุ้ง หอย และปูต่างๆ 
       4. เนื้อสัตว์จำพวกกบ เขียด และอื่นๆ 
       อาหารจำพวกเนื้อสัตว์เหล่านี้จะต้องนำมาสับจนละเอียด แต่สำหรับเนื้อปลานั้น ควรใช้ต้มทั้งตัวให้สุก เสียก่อน แล้วจึงให้ลูกปลากินระวังอย่าให้อาหารมากจนเกินขนาดจะทำให้ปลาตายได้ เนื่องจากอาหารย่อยไม่ทัน ทั้งอาหารที่เหลือก็จะทำหใ้น้ำเสียได้ง่าย นอกจากอาหารจำพวกเนื้อแล้ว อาหารจำพวกพืช เช่น กากถั่ว รำต้ม กากมัน ก็นิยมให้เป็นอาหารสมทบ 
       การให้อาหารลูกปลา ควรให้วันละประมาณ 5 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักรวมของปลาที่เลี้ยงทั้งหมด แต่ควรสังเกตดูว่าอาหารที่ให้จะเหลือมากน้อยเพียงใด ถ้าเหลือมากควรลดปริมาณอาหารลงบ้าง การให้อาหารแต่ละครั้ง ควรให้ในปริมาณที่ปลาจะกินได้หมดในช่วงเวลาที่ไม่มากนัก 
       
อาหารปลาใหญ่ ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อและผักซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้ 
       1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามแต่จะหาได้ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ตัวไหม และไส้เดือน ฯลฯ 
       2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว แป้งมัน และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเเพิ่มอาหารหรืออาจจะให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลแพะ ฯลฯ 
       โดยทั่วๆ ไปแล้ว ปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่า อาหารประเภทพืชและประเภทแป้ง แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 เปอร์เซนต์ ของอาหารประเภทพืช และแป้ง

การเตรียมบ่อ    


บ่อใหม่
ปกติแล้วดินจะมีสภาพเป็นกรดอย่างอ่อนๆ หรืออาจจะมีสภาพเป็นกรดสูง ขึ้นอยู่กับลักษณะท้องที่ ฉะนั้นควรใช้ปูนขาวประมาณ 1 กก. ต่อพื้นที่ 10-25 ตารางเมตร โดยสาดปูนขาวให้ทั่วบ่อแล้วตากบ่อไว้ ประมาณ 7-10 วันก่อน จึงสูบน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการ แต่ควรมีระดับน้ำลึกประมาณ 50 ซม. แล้วจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง



บ่อเก่า


เมื่อเลี้ยงปลาดุกผ่านไปรุ่นหนึ่งแล้ว ควรตากบ่อให้แห้งประมาณ 10-15 วัน พร้อมทั้งโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตราส่วนปูนขาวอยู่เดิม และเป็นการให้จุลินทรีย์เน่าสลายทำให้อินทรียสารที่ตกค้างอยู่ในบ่อหมดไปด้วย เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3-4 รุ่น ควรลอกเลนและทำคันบ่อใหม่ เนื่องจากบ่ออาจตื้นเขินและขอบคันอาจเป็นรู เป็นโพรงมาก ทำให้บ่ออาจเก็บกักน้ำไม่อยู่และไม่สะดวกในการจับปลาอีกด้วย

การการเลี้ยงปลาดุกในบ่อ
เอกสาร กรมประมง

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลี้่ยงปลาน้ำจืด

ปลานิล


การเจริญเติบโต 

       ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักถึง 500 กรัม และเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อปล่อยลงเลี้ยงวในบ่อ จะเริ่มวางไข่ ได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ได้ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 เดือน
       ด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลาในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไป หากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้าง เพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหน้าแน่น ปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย

 การเตรียมบ่อ

     บ่อที่จะใช้เลี้ยงปลานิล ควรเป็นบ่อดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป ระดับของน้ำในบ่อควรลึกประมาณ 1 เมตรตลอดปี ทั้งนี้เพื่อจะไ้ดใช้เลี้ยงปลาซึ่งมีขนาดโต และใช้สำหรับเพาะลูกปลาพร้อมกันไปด้วย เพราะถ้าเป็นบ่อซึ่งมีขนาดเล็กแล้ว ลูกปลาที่เกิดขึ้นใหม่จะทวีจำนวนแน่นบ่ออย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกปลาเหล่านี้มีขนาดไม่โต โดยที่ปลานิลเป็นปลาที่วางไข่โดยการขุดหลุมตามก้นบ่อ ดังนั้น จึงควรมีชานบ่อหรือทำให้ตามขอบบ่อมีส่วนเชิงลาดเทมากๆ ซึ่งจะเป็นแหล่งตื้นๆ สำหรับให้แม่ปลาได้วางไข่
       ถ้าบ่อนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวิดน้ำเข้าออก เพียงแต่ทำท่อระบายน้ำแล้วกรุด้วยตะแกรงตาถี่เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาที่เลี้ยงไว้หลบหนีออกไปก็ใช้ได้ และยังเป็นเการป้องกันไม่ให้ศัตรูของปลาจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามาอีกด้วย แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อระบายน้ำได้ก็จำเป็นที่จะต้องสูบน้ำเข้าบ่อเมื่อเวลาน้ำลดลง และต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำในเวลาที่เกิดน้ำเสีย

การให้อาหาร 

      ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในบ่อ ตลอดจนสาหร่ายและแหน ถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบ เช่น รำ ปลายข้าว กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากมะพร้าว แหนเป็ดและปลาป่น เป็นต้น การให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไปควรกะให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของปลาเท่านั้น ส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราว 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้อาหารมากเกินไป ปลาจะกินไม่หมด เสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นอันตรายแก่ปลาได้

ปลาตะเพียนขาว



รูปร่างลักษณะและนิสัย

       ปลาตะเพียนขาว มีลักษณะลำตัวแบนข้าง ขอบหลังโค้งยกสูงขึ้น หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 29-31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงิน บริเวณส่วนหลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องเป็นสีขาวนวล ปลาตะเพียนขาวซึ่งมีขนาดโตเต็มที่แล้วจะมีลำตัวยาวที่สุดเกือบ 50 ซม.
       ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาน้ำจืด อาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตแพร่ขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว

วิธีการเพาะขยายพันธุ์

        หลังจากคัดเลือกพ่อ - แม่ปลาได้แล้ว นำพ่อ-แม่ปลาไปปล่อยไว้ในกรงลวด ในอัตราตัวเมัย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 2 ตัว หรือ ตัวเมีย 3 ตัว ต่อตัวผู้ 5 ตัว กรงลวดแต่ละกรงนั้นควรปล่อยแม่ปลาประมาณ 5-10 ตัว การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาว ต้องทำในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนมิถุนายนเพราะเป็นช่วงฤดูวางไข่ผสมพันธุ์ของปลาตะเพียนขาว
เมื่อพ่อแม่ปลาเริ่มรัดหรือผสมพันธุ์กันแล้ว ประมาณ 2 ชั่วโมง แม่ปลาก็จะออกไข่หมด เมื่อยกกรงลวดออกจากระชังผ้าไนลอนแก้ว ( พ่อ-แม่ปลาติดออกมาด้วย ) จะพบว่ามีไข่ปลาจมอยู่ที่ก้นกระชังผ้าเป็นจำนวนมาก ควรแยกไข่ปลาไปฟักในกระชังผ้าใบอื่น เพื่อไม่ให้ไข่ทับถมกันจนแน่นเกินไป ไข่ปลาจะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 8-12 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณภูมิของน้ำและอากาศ ถ้าอุณหภูมิสูง จะทำให้ไข่ฟักออกเป็นตัวเร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ
       ถ้าหากไม่สามารถหากรงลวดและกระชังไนลอนได้ เราก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาตะเพียนขาวในบ่อผสมพันธุ์ได้เลย ( บ่อดินขนาด 100 ตารางเมตร บ่อซีเมนต์ 10 ตารางเมตร ) ถ้าเป็นบ่อซีเมตรขนาด 10 ตารางเมตร ใช้พ่อ-แม่ปลาในอัตราส่วน ตัวเมีย 3 ตัว ต่อตัวผู้ 5 ตัว เตรียมบ่อเพาะขยายพันธุ์โดยการเปลี่ยนน้ำใหม่ประมาณครึ่งบ่อ การปล่อยน้ำให้ไหลลงบ่อตลอดเวลา พ่อ- แม่ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาประมาณ 04.00 - 05.00 น. ของวันรุ่นขึ้น ในขณะที่ปลาตะเพียนกำลังผสมพันธุ์และวางไข่นั้น ปลาจะส่งเสียงร้องอุดๆ ตลอดเวลาและจะไล่เคล้าเคลียกันเป็นฝูง
       ในวันรุ่งขึ้น ต้องจับพ่อ-แม่ปลาขึ้นจากบ่อ ทิ้งให้ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วฟักเป็นตัวภายในบ่อ และเมื่อลูกปลามีอายุได้ประมาณ 15 วัน ต้องนำลูกปลาไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลต่อไป
       การอนุบาลลูกปลาตะเพียนในกระชังผ้าไนลอนแก้ว ในระยะแรกประมาณ 3-5 วันนั้น นับว่าเป็นวิธีที่ดี เพราะสามารถดูแลได้ใกล้ชิดกว่าปล่อยไว้ในบ่อดิน เพราะถ้าผู้เลี้ยงไม่สามารถดูแลปลาได้ใกล้ชิดแล้ว จะไม่รู้ว่าลูกปลาที่กำลังอนุบาลอยู่นั้นเหลือมากน้อยเพียงใด อีกประการหนึ่ง การอนุบาลลูกปลาในกระชังผ้าดังกล่าว สามารถมองเห็นลูกปลาได้ถนัดตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงบริเวณก้นกระชัง ทำให้เห็นลูกปลาตายมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะหาวิธีแก้ไขได้สะดวก ทั้งยังสามารถคะเนปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละครั้งได้ด้วย ว่ามีประมาณมากน้อยเพียงพอหรือไม่เพียงใด

การเตรียมบ่อ

บ่อใหม่
หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร
บ่อเก่า
จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่างๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดีขึ้น การปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ตื๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว

ที่มา หนังสือ การเลี้ยงปลานิลเริ่มต้น (กรมประมง)
หนังสือ คามรู้เกี่ยวกับปลาตะเพียนขาว (กรมประมง)