วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การเลี้ยงปลาสวาย

ลักษณะเพศและการแพร่ขยายพันธุ์ 
       ลักษณะเพศ ปลาสวายตัวผู้มีท้องเรียบไม่นูน พื้นท้องแข็งกว่าตัวเมีย ลักษณะช่องเพศเป็นรูปวงรี แคบเล็ก มีสีแดงอ่อน เมื่อใช้มือบีบที่ช่องเพศเบาๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมาให้เห็นได้ชัด ส่วนตัวเมียมีลักษณะที่พอจะสังเกตได้ชัด คือ บริเวณส่วนท้องอูมเป่ง กลมนูนออกมาเห็นได้ถนัด พื้นท้องมีผิวเนียนนิ่ม ลักษณะของช่องเพศ เป็นรูปรีมีขนาดกว้างใหญ่กว่าของตัวผู้ นอกจากนั้นตรงบริเวณช่องเพศยังมีลักษณะพองเป่งปรากฏเป็นสีแดงเข้ม
       ฤดูและแหล่งวางไข่ ปลาสวายจะวางไข่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในบริเวณที่มีน้ำท่วมในฤดูน้ำมาก ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ไข่ปลาสวายจะฟักออกเป็นตัวในระยะเวลา 27-33 ชั่วโมงหลังจากวางไข่ ที่อุณหภูมิ 28-31 องศาเซลเซียส
       จากการสอบถามผู้ที่ได้เคยทำการทดลองเลี้ยงปลาสวายในกระชัง และโดยการทดลองเลี้ยงในบ่อ ปรากฏว่าทั้งปลาสวายและปลาเทโพจะไม่วางไข่แพร่พันธุ์ในบ่อหรือในกระชังที่เลี้ยงไว้เลย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปลาสวายจะไม่วางไข่ในบ่อและในกระชัง แต่ก็มีผู้นิยมเลี้ยงปลาสวายในบ่อและในกระชังกันมาก ทั้งนี้เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินง่าย โตเร็ว มีน้ำหนักมาก เนื้อมีรสอร่อย และในท้องตลาดจะมีผู้รับซื้อในราคาที่ดีพอสมควร


การเลี้ยงปลาสวายในบ่อ
การเลี้ยงปลาสวายควรจะพิจารณาและปฏิบัติดังต่อไปนี้
        1. บ่อ เนื่องจากปลาสวายเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ศัตรูที่เป็นพวกปลาด้วยกันจึงมีน้อย เพราะส่วนมากปลาอื่นๆ ที่มีอายุไล่เลี่ยกันจะมีขนาดของลำตัวเล็กกว่า ไม่อาจทำอันตรายปลาสวายได้
       บ่อเลี้ยงปลาสวาย ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ มีรัะดับน้ำลึกประมาณ 2 เมตร ทำเลของบ่อเลี้ยงควรให้อยู่ใกล้หรือติดกับแม่น้ำลำคลอง หรืออยู่ในที่ตื้นแต่ควรจะทำขอบบ่อให้เทลาดเล็กน้อย และมีชานคอยรับคันดินขอบบ่อไว้มิให้ดินพังทลายลง ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้บ่อตื้นเขิน อย่างไรก็ตาม คันดินขอบบ่อนั้นจะไม่มีเลยก็ได้
       2. น้ำ น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาสวาย จะต้องเป็นน้ำที่จืดสนิท ถ้าเป็นน้ำกร่อยหรือมีรสเฝื่อน ปลาจะไม่เติบโตเท่าทีควร
       3. พันธุ์ปลา การเลือกพันธุ์ปลาที่จะนำมาเลี้ยง ควรคัดปลาที่ไม่มีแผล ตาไม่บอด ไม่เป็นปลาที่แคระพิการ ปลาที่มีแผลนั้น หากปล่อยลงเลี้ยงอาจจะทำให้เกิดเชื้อโรคระบาดติดต่อตัวอื่นๆได้ ส่วนปลาที่ตาบอด ก็จะมองไม่เห็นอาหารที่ผู้เลี้ยงให้ ปลาจะได้กินบ้าง ไม่ได้กินบ้าง ทำให้ไม่เจริญเติบโต และอาจเจ็บตาย 
      4. อัตราการปล่อยปลา การเลี้ยงปลาสวายในบ่อ ควรปล่อยปลาสวายอัตรา 1 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร  
       5. อาหาร ปลาสวายเป็นปลาที่ไม่เลือกอาหาร กินอาหารง่าย กินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผัก จากการสังเกตของผู้เลี้ยงหลายราย ปรากฏว่าปลาสวายชอบกินอาหารพวกเนื้อสัตว์มากกว่าพืชผัก อาหารที่ว่านี้ ได้แก่ พวกปลาเล็กๆ เช่น ปลาสร้อย หรือปลาไส้ตัน ทั้งสดและที่ตายแล้ว โดยวิธีสับหรือบดให้ละเอียดเสียก่อน นอกจากนี้ปลาสวายยังชอบกินพวกรำผสมปนกับผักบุ้งอีกด้วย
การให้อาหาร
การเลี้ยงปลาสวายควรจะพิจารณาและปฏิบัติดังต่อไปนี้
        1. บ่อ เนื่องจากปลาสวายเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ศัตรูที่เป็นพวกปลาด้วยกันจึงมีน้อย เพราะส่วนมากปลาอื่นๆ ที่มีอายุไล่เลี่ยกันจะมีขนาดของลำตัวเล็กกว่า ไม่อาจทำอันตรายปลาสวายได้
       บ่อเลี้ยงปลาสวาย ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ มีรัะดับน้ำลึกประมาณ 2 เมตร ทำเลของบ่อเลี้ยงควรให้อยู่ใกล้หรือติดกับแม่น้ำลำคลอง หรืออยู่ในที่ตื้นแต่ควรจะทำขอบบ่อให้เทลาดเล็กน้อย และมีชานคอยรับคันดินขอบบ่อไว้มิให้ดินพังทลายลง ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้บ่อตื้นเขิน อย่างไรก็ตาม คันดินขอบบ่อนั้นจะไม่มีเลยก็ได้
       2. น้ำ น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาสวาย จะต้องเป็นน้ำที่จืดสนิท ถ้าเป็นน้ำกร่อยหรือมีรสเฝื่อน ปลาจะไม่เติบโตเท่าทีควร
       3. พันธุ์ปลา การเลือกพันธุ์ปลาที่จะนำมาเลี้ยง ควรคัดปลาที่ไม่มีแผล ตาไม่บอด ไม่เป็นปลาที่แคระพิการ ปลาที่มีแผลนั้น หากปล่อยลงเลี้ยงอาจจะทำให้เกิดเชื้อโรคระบาดติดต่อตัวอื่นๆได้ ส่วนปลาที่ตาบอด ก็จะมองไม่เห็นอาหารที่ผู้เลี้ยงให้ ปลาจะได้กินบ้าง ไม่ได้กินบ้าง ทำให้ไม่เจริญเติบโต และอาจเจ็บตาย 
      4. อัตราการปล่อยปลา การเลี้ยงปลาสวายในบ่อ ควรปล่อยปลาสวายอัตรา 1 ตัว ต่อเนื้อที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร  
       5. อาหาร ปลาสวายเป็นปลาที่ไม่เลือกอาหาร กินอาหารง่าย กินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผัก จากการสังเกตของผู้เลี้ยงหลายราย ปรากฏว่าปลาสวายชอบกินอาหารพวกเนื้อสัตว์มากกว่าพืชผัก อาหารที่ว่านี้ ได้แก่ พวกปลาเล็กๆ เช่น ปลาสร้อย หรือปลาไส้ตัน ทั้งสดและที่ตายแล้ว โดยวิธีสับหรือบดให้ละเอียดเสียก่อน นอกจากนี้ปลาสวายยังชอบกินพวกรำผสมปนกับผักบุ้งอีกด้วย

การเลี้ยงปลาไน


ลักษณะเพศและการแพร่ขยายพันธุ์

       ลักษณะเพศ รูปร่างลักษณะภายนอกของปลาไนตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การสังเกตลักษณะของเพศได้ ต้องอาศัยความชำนาญ คือตัวเมียมีลำตัวป้อม ช่วงท้งอตอนล่างอวบใหญ่แบน ส่วนตัวผู้มีลำตัวเรียวยาว โดยเฉพาะในฤดูวางไข่ ตัวเมียท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง พื้นท้องนิ่ม ส่วนตัวผู้ พื้นท้องไม่อูมเป่งแต่พื้นท้องจะมีความตึงค่อนไปทางแข็ง        ฤดูวางไข่ ย่อมแตกต่างกันบ้างตามแต่อากาศและฤดูกาลของแต่ละประเทศ เช่น ปลาไนที่เลี้ยงอยุ่ในบ่อเมื่องกวางตุ้ง ประเทศจีน จะวางไข่ในเดือนธันวาคม สำหรับในประเทศไทย ปลาไนสามารถที่วางไข่ได้ในทุกฤดู แต่ก็มีระยะหนึ่งซึ่งปลาไนสามารถไข่ได้มากที่สุด ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ปลาไนจะเติบโตพอที่จะสืบพันธุ์ได้ เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน ความยาวประมาณ 25 ซม. ในฤดูหนึ่ง แม่ปลาตัวหนึ่งอาจวางไข่ได้ถึง 2 ครั้ง


บ่อเลี้ยงปลาไน
บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาไน ควรแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
       1. บ่อผสมพันธุ์สำหรับพ่อ-แม่ปลา เพื่อใช้ผสมพันธุ์และวางไข่เมื่อพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์และวางไข่แล้ว จึงย้ายไข่ปลาไปยังบ่ออนุบาลเพื่อทำการฟักและเลี้ยงลูกปลาต่อไป บ่อผสมพันธุ์นี้ต้องเป็นบ่อซึ่งตั้งอยู่ในทำเลเงียบสงัด ห่างไกลจากทางเดินหรือถนนที่มีผู้คนพลุกพล่าน เพราะในขณะที่ปลากำลังผสมพันธุ์กันอยู่นั้น ถ้ามีเสียงหรือสิ่งเคลื่อนไหวทำให้ตกใจกลัวพ่อ-แม่ปลาจะหยุดชะงักหรือไม่วางไข่อีกต่อไป
       2. บ่ออนุบาล เป็นบ่อที่ใช้ฟักไข่ปลาที่แม่ปลาวางไข่ในบ่อผสมพันธุ์ขนาดของบ่อควรมีเนื้อที่ประมาณ 400-800 ตารางเมตรความลึกของน้ำ ไม่เกิน 1 เมตร ก่อนย้ายไข่จากบ่อผสมพันธุ์มาฟักในบ่ออนุบาล ต้องจับศัตรูของลูกปลาออกให้หมด เช่น กบ เขียด ปลากุก
       3. บ่อเลี้ยง ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีอายุตั้งแต่ 2-3 เดือนขึ้นไป โดยแยกมาจากบ่ออนุบาล บ่อเลี้ยงนี้จะใช้เลี้ยงปลาไนจนเติบโตได้ขนาดที่จะขายได้ ดังนั้นบ่อเลี้ยงจึงควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ และมีน้ำลึกประมาณ 1-2 เมตรตลอดปี


การให้อาหาร
การให้อาหารแก่ปลาไน ควรให้วันละครั้งเดียวในช่วงเช้า โดยจะโยนอาหารให้กิน หรือหาไม้มาทำแป้นใส่อาหารให้ปลา ให้แป้นไม้อยู่ใต้ผิวน้ำประมาณ 30 เซนติเมตร อาหารที่ให้แต่ละครั้งอย่าให้ปริมาณมากจนเกินไป เพราะเศษอาหารที่เหลืออยู่ในบ่อ จะบูดเน่าเป็นอันตรายต่อปลา จะทำให้ปลาอึดอัดหายใจไม่ออก ไม่กินอาหาร จะโผล่หัวขึ้นมาเหนือผิวน้ำ อาการเช่นนี้ เรียกว่า ปลาลอยหัว ถ้าทิ้งไว้นานปลาจะตาย เมื่อใดเห็นปลามีอาการเช่นนี้ ให้รีบเปลี่ยนน้ำในทันทีเพื่อตักเอาเศษอาหารที่เหลือนั้นจากบ่อ หรือรีบย้ายปลาไปไว้ในบ่ออื่นก่อนที่จะถ่ายน้ำแล้วสูบน้ำใหม่เติมลงไป